วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีการทำบุญให้ได้กุศลผลบุญ : การทำบุญตักบาตร

ถ้าจะพูดถึงการทำบุญแล้ว พิธีกรรมอย่างแรกที่คนไทยเราคุ้นเคยกันดีตั่งแต่เด็กจนโตก็คืด การทำบุญตักบาตร แม้ว่าบางคนอาจจะไม่คุ้นชินกับการเข้าวัดทำบุญ แต่อย่างน้อยในครัั้งหนึ่งในชีวิตต้องเคยทำบุญด้วยการตักบาตร

การทำบุญตักบาตรเป้ฯการทำบุญที่เราสามารถทำได้ง่ายที่สุด เพาะบางคนนั้นอาจจะไม่ค่อยเดินทางไปที่วัด ไปกราบไหว้พระ หรือไปทำบุญถวายภัตตาหาร หรือไปถวายสังฆทานที่วัด แต่อย่างน้อยสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องเดินทางไปวัดก็คือการทำบุญด้วยการตักบาตร ซึ่งสามารถทำได้ตั่งแต่เวลาตื่นเช้ามาก่อนไปทำงาน ก่อนไปโรงเรียน เราจะสามารถพบพระสงฆ์องค์เจ้าเดินบิณฑบาตอยู่ในช่วงเช้า ซึ่งเราก็สามารถซื้ออาหารไปตักบาตรพระได้

การทำบุญตักบาตร คือการนำอาหารไปใส่ในบาตรพระสงฆ์ หรือเณรที่จะออกมาบิณฑบาตทุกเช้าในช่วงเวลาประมาณ 6.00 - 7.30 น. ทุก ๆ เช้า พระสงฆ์และเณรจะออกมาจากวัดเพื่อมาโปรดสัตว์อันเป็นการออกมาเพื่อให้ชาวบ้านได้ทำบุญทำทานกัน คือการถวายอาหาร หรือการแบ่งปันข้าวปลาอาหารให้พระสงฆ์องค์เจ้าผู้เป็นสาวกของศาสดา ผู้ทำหน้าที่ดำรงสืบทอดพระศาสนา เป็นผู้รักษาศีลธรรม อันมีชาวบ้านเป็นฆราวาสจะได้ช่วยเอื้อเฟื้อแก่ศาสนาด้วยการทำบุญและทำทานในลักษณะนี้

เรื่องของการทำบุญตักบาตนั้นตามธรรมเนียมที่ถูกต้อง ที่ทำบุญได้แล้วได้บุญได้กุศลจริง ๆ ก็คือ การเลือกสรรอาหารหรือการดูแลอาหารที่ดีสักหน่อย ตามคำในพระไตรปิฏกกล่าวไว้าถึงเรื่องการตักบาตรว่า ถ้าเรากินอย่างไรก็ให้ใส่อย่างนั้น หรือเรากินอย่างไรให้ใส่บาตรพระดีกว่านั้น มิใช่ว่าเรากินอย่างไรแล้วเราใส่บาตรในสิ่งที่ด้อยกว่า และเรื่องที่ไม่ควรลืมคือเรื่องของการถวายดอกไม้ธูปเทียน

ส่วนเรื่องการปฏิบัติตนในขณะตักบาตรนั้น ถ้าสะดวกในการถอดรองเท้าแล้วเหยียบบนรองเท้าของเราก็ได้ถ้าพื้นตรงนั้นมันสกปรกมาก แต่ถ้าบางคนสวมถุงเท้ารองเท้าผ้าใบเรียบร้อย ถ้าไม่สะดวกถอดก็ไม่เป็นไร

การตักบาตรให้ถูกธรรมเนียมพิธีของไทยแต่โบราณนั้นจะต้องกล่าวคาถาคำตักบาตรพระในใจไปด้ว

พระคาถาขณะตักบาตรพระ

"อิทัง ทานัง สีละวัน ตานัง ภิกขุนัง นิยาเทมิ สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสะวัก ขะยาวะหัง นิพานะปัจจะโย โหตุ"

คำแปล

ข้าพเจ้า ขอน้อมถวายของตักบาตรเหล่านี้ แด่พระสงฆ์ผู้มีศีลทั้งหลาย ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ

เมื่อตักบาตรแล้วกลับมาที่บ้านให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร หรือญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อเป็นการแบ่งปันบุญอุทิศส่วนกุศลด้วย ไม่ใช่เก็บบุญของตนไว้เพียงผู้เดียว

และธรรมเนียมการตักบาตพระนั้นควรจะใส่บ่อย ๆ เป็นประจำสม่ำเสมอ บางคนสะดวกที่จะตักบาตรทุกเช้าได้ก็เป็นบุญกุศลอันดีแก่ตน หรืออาจจะเลือกตักบาตรเฉพาะวันพระ หรือทุกวันเกิดของตน หรือไม่ต้องถือวาระโอกาศใด ๆ สะดวกเมื่อไหร่ก็ตักบาตรอาทิตย์ละ 3 - 4 ครั้ง ได้จะยิ่งเป็นการสั่งสมบุญกุศลที่ดี

การตักบาตรพระ

1. คือการสั่งสมบุญในแต่ละวัน

2. เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการทำบุญ คือการทำให้จิตใจพองฟู จิตใจเบิกบานแจ่มใส

3. เป็นการสร้างที่พึ่งแห่งตน คือมีบุญหรือมีความสุขอันเป็นที่พึ่ง

4. เป็นการช่วยรักษาพุทธปราณี เป็นการสงเคราะห์ผู้รักษาสืบทอดพระพุทธศาสนา

5. เพื่อเป็นการแสดงตนว่าจะดำรงอยู่ในความประพฤติดีประพฤติชอบและอยู่ในศีลธรรม

การตักบาตจะได้บุญนั้นต้องสงบจิตใจให้บริสุทธิ์ และเต็มไปด้วยความศรัทธาโดยมีเจตนาบริสุทธิ์ ก่อนถวายต้องตั้งใจเสียสละและตั้งใจให้ทานอย่างแท้จริง ขณะถวายก็ต้องมีจิตใจเลื่อมใส ถวายอาหารพระด้วยความเรารพเลื่อมใส หลักจากถวายแล้วก็ต้องยินดีในทานที่ได้สละทานนั้นไป มีจิตใจเบิกบานที่ได้สระหรือได้ให้ทานสิ่งที่ตนเองถวายไปแล้ว

การกรวดน้ำ

การกรวดน้ำนั้นหมายถึง การแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลด้วยวิธีหลั่งน้ำ การกรวดน้ำมี 4 ลักษณะ

1. การกรวดแผ่ส่วนกุศล

2. กรวดน้ำตัดขาดจากกัน

3. กรวดน้ำยกกรรมสิทธ์ให้

4. กรวดน้ำเพื่อตั้งความปรารถนา

การกรวดน้ำควรที่จะค่อย ๆ รินน้ำอย่าให้น้ำขาดสาย จากนั้นจึงนำน้ำที่กรวดน้ำไปแล้วไปเททิ้งที่โคนต้นไม้กลางแจ้ง เคยกันมีผู้สงสังกันมากว่าเมื่อทำบุญแล้ว หากไม่ได้กรวดน้ำเราจะได้บุญหรือไม่ บุญนั้นเป็นสิ่งที่ทำแล้วก็ได้แก่ตนเอง บุญไม่หายไปไหน และการกรวดน้ำนั้นควรจะใช้มือขวาในการกรวดน้ำ เพื่อเป็นการแสดงถึงความเคารพในทานและบุญที่ตนได้ให้ไป

คาถากรวดน้ำแผ่ส่วนกุศล

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มาดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์ของอาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้สำเร็จแก้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น