วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม

เปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก มีคำกล่าวในหนังสือนำว่า ผู้ใดมีไว้ประจำบ้านเรือนมีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลก และป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ทำมาหากินเจริญฯ

ผู้ใดได้สร้างยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทาน และไว้สวดมนต์สัการบูชา ผลานิสงส์สุดที่จะพรรณนาให้ทั่วถึงได้ เป็นหมากุศลอันยิ่งใหญ่จะมีความสุขสิริสวสดิ์เจริญต่อไปทั้งปัจจุบันกาลและอนาคตภายภาคหน้าตลอดบุตรหลานสืบไป ด้วยอกนาจของความเคารพในพระคาถานี้สร้างครบ 7 วัน ครบอายุ หมดเคราะห์หมดโศกทุกประการฯ


ประวัติกว่าวไว้ต้นฉบับเดิมว่า

หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกเช้าค่ำแล้วเป็นการบูชารำลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้นั้นจะไม่ตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือนก็อาจป้องกันอันตรายต่าง ๆ จะภาวนาพระคาถาอื่น ๆ สัก 100 ปี อานิสงส์ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่า อินทร์ พรหม ยมยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์ จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำก่อเป็นพระเจดีย์ ตั่งแต่มนุษย์โลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ในต้นฉบับนั้นอีกนานัปการฯ

ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก จารเป็นอักษรขอมจารึกไว้ในใบลานโบราณาจารย์จึงได้แปลเป็นอักษรไทย หลวงธรรมาธิกรณ์ (พระภิกษุแสง) ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์ สร้างถวายพระภิกษุสงฆ์สามเณร ญาติมิตรสหาย หรือสวดจนครบ 7 วัน ครบอายุปัจจุบันของตนจะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ ปราศจากทุกข์โศก โรคภัย และภัยพิบัติทั้งปวง



คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ 
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ


นมัสการพระพุทธเจ้า 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


๑. พุทธคุณ 
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

๒. ธรรมคุณ 
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

๓. สังฆคุณ 
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ



ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกมีดังนี้


๑. 
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา

๒. 
อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ 
อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ 
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ 
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ 
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ 
สุคะตัง สิระสา นะมามิ 
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ 
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

๓. 
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

๔. 
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ 
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ 
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ 
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ 
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ 
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ 
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
พุทธัง สิระสา นะมามิ

๕. 
อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา

๖. 
อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๗. 
อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๘. 
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๙. 
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา 
สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา 
สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา 
สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๐. 
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๑. 
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๒. 
กุสะลา ธัมมา 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ชมภูทีปัญจะอิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
นะโม พุทธายะ 
นะโม ธัมมายะ 
นะโม สังฆายะ 
ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง 
อา ปา มะ จุ ปะ 
ที มะ สัง อัง ขุ 
สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ 
อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ 
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ 
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว 
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ 
อิ สวา สุ สุ สวา อิ 
กุสะลา ธัมมา 
จิตติวิอัตถิ

๑๓. 
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง 
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา

๑๔. 
กุสะลา ธัมมา 
นันทะวิวังโก 
อิติ สัมมาพุทโธ 
สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน 
อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตาวะติงสา อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู 
มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ยามา อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
พรหมมาสัททะ 
ปัญจะ สัตตะ 
สัตตาปาระมี 
อะนุตตะโร 
ยะมะกะขะ 
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๕. 
ตุสิตา อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
ปุ ยะ ปะ กะ 
ปุริสะทัมมะสาระถิ 
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๖. 
นิมมานะระติ อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
เหตุโปวะ 
สัตถา เทวะมะนุสสานัง 
ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๗. 
ปะระนิมมิตะ อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
สังขาระขันโธ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
รูปะขันโธ พุทธะปะผะ 
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๘. 
พรหมมา อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ 
นะโม พุทธัสสะ 
นะโม ธัมมัสสะ 
นะโม สังฆัสสะ 
พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา 
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ 
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

๑๙. 
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ 
วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ 
อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ 
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๐. 
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง 
พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง 
จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง 
เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง 
อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง 
มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง 
สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง 
พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง 
อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา 
อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

๒๑. 
สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง 
โมกขัง คุยหะกัง 
ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง 
สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง 
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ 
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๒. 
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ 
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม อิติปิโส ภะคะวา

๒๓. 
นะโม พุทธัสสะ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ 
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๔. 
นะโม ธัมมัสสะ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ 
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๕. 
นะโม ธัมมัสสะ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ 
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

๒๖. 
นะโม สังฆัสสะ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ 
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง

๒๗. 
นะโม พุทธายะ 
มะอะอุ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
ยาวะ ตัสสะ หาโย 
นะโม อุอะมะ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
อุ อะมะ อาวันทา 
นะโม พุทธายะ 
นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ 
อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

----------------------------------

พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)

๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก



๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า



๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส



๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า



๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว



๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์



๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ



๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน



๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ



๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค



๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล



๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป

ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก

ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ

ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร



๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต



๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา

ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา

ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต



๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต



๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี



๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี



๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน



๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด



๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด



๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด



๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น



๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว



๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว



๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว



๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว



๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง

------------------------------------

คำกรวดน้ำของยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าได้สร้าง และสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ขออุทิศส่วนกุศลให้แก่ คุณบิดมารดา และทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน ผู้มีพระคุณ ญาติกา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร พระมหากษัตริย์ และมิตรรักสนิท เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคม แม่พระเพลิง แม่พระพาย แม่พระโพสพ พระภูมิเจ้าที่ พระพิรุณ พญายมราชนายนิรยบาล ทั้งท้าวจตุโลกบาททั้งสี่ สิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมหาราชิกาเบื้องบน จนถึงที่สุดพรหมาเบื่องต่ำ ตั่งแต่อเวจีขึ้นไปจนถึงมนุษย์โลก โดยรอบสุดขอบจักรวาล อนันตจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัยและเทพยดาทั้งหลาย ตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยมยักษ์คนธรรพ์ นาคา ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุข ขอให้ได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าอุทิศให้ไปนี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบัน และอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้น เทอญฯ

พุทธังอนันตัง          ธัมมังจักรวาลัง
สังฆังนิพพานัง          ปัจจโยโหนตุ

-------------------------------------







วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อานิสงส์การสวดพระคาถาชินบัญชร

อานิสงส์การสวดพระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชร เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกา เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ค้นพบในคัมภีร์โบราณ ได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้น เป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดได้สวดเป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล สมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ามากล้ำกลาย ไปทางใดย่อมเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ สวดแล้ว อธิฐานจะสมดั่งใจ
ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง



พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ชาติภูมิ เดิมชื่อ โต เป็นบุตรของนาง งุด บิดาไม่เป็นที่ปรากฏ ตา ชื่อ ผล ยายชื่อนางลา ถือกำเนิด ในแผ่นดิน รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช เมื่อ วันพฤหัสที่ 17 เมษายน พ.ศ.2331 สัมฤทธิศก จุลศักราช1150 เวลา ประมาณ 06.54 น. ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก
เดิมแม่เป็นชาวบ้าน ท่าอิฐ อำเภอบ้านโพ (อำเภอเมือง ในปัจจุบัน) จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาเกิดฝนแล้ง ติดต่อกันหลายปี ทำนาไม่ได้ผล จึงย้ายมาอยู่ ที่เมืองกำแพงเพชร (และน่าจะได้พบกับ พ่อของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จ ฯ(โต) ณ เมืองนี้) พอตั้งท้อง ก็ได้ไปอยู่กับยาย ที่เรือนแพหน้าวัดไก่จ้น และวัดสะตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่งุดเมื่อคลอดเด็กชายโตแล้ว ขณะยังนอนเบาะอยู่ก็ได้ย้ายไป อยู่บริเวณ วัดไชโย ใน จังหวัด อ่างทอง ระยะหนึ่ง ต่อมามารดา ก็ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐาน ไปอยู่ที่ตำบล บางขุนพรหม กรุงเทพฯ และสอนยืนได้ ที่บริเวณ ตำบลบางขุนพรหมนี้
เมื่อโตขึ้นแม่ได้มอบตัว ให้เป็นศิษย์ของ ท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาส วัดอินทรวิหาร เพื่อศึกษา อักขรสมัย เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปีวอก พ.ศ.2342 โดยมีพระบวรวิริยเถระ(อยู่) เจ้าอาวาสวัด บางลำภูบน (วัดสังเวชวิศยาราม-ปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบรรพชาแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ ณ วัดอินทรวิหาร จนหมดความรู้ ของครูอาจารย์ มีความประสงค์ ที่จะศึกษาภาษาบาลีต่อ ท่านเจ้าคุณอรัญญิกจึงได้นำไป ฝากอยู่กับ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(นาค เปรียญเอก) วัดระฆังโฆสิตาราม สามเณรโต เป็นผู้มีความวิริยะ อุตสาหะในการศึกษา เป็นอย่างดี มีวัตรปฏิบัติที่งดงามน่าเลื่อมใส จนปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปรานมาก ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พระราชทาน เรือกราบกัญญา หลังคากระแชง ให้ท่านไว้ใช้สอยตามอัธยาศัย เมื่ออายุ 20 ปี ตรงกับปีเถาะ พ.ศ.2350 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
โดยมีสมเด็จพระสังฆราช(สุก) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า พฺรหฺมรํสี และเรียกว่า มหาโต ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมณศักดิ์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไม่ติดในยศศักดิ์ ได้ปฏิเสธเรื่อยมา จนกระทั่งไม่สามารถ หลีกได้จึงจำใจยอมรับ เป็นพระธรรมกิตติ สถาปนาพร้อมกับ ตำแหน่งเจ้า อาวาสวัด ระฆังโฆสิตาราม โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีชวด พ.ศ.2395 ขณะอายุ 65 ปี
        – เป็นพระเทพกวี เมื่อปีขาล พ.ศ. 2397
        – เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
สถาปนาในคราวสมเด็จพระพุฒาจารย์(สน) วัดสระเกศมรณภาพลง ซึ่งตรงกับ วันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด พ.ศ.2407 นับเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ รูปที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปีที่ 5 แห่งแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) ได้ไปดูงานก่อสร้างพระโต วัดบางขุนพรหมใน(วัดอินทรวิหารปัจจุบัน) ได้มรณภาพ ที่บนศาลาการเปรียญ วัดบางขุนพรหมใน ด้วยโรคลมปัจจุบัน เมื่อวันเสาร์ ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 ตรงกับ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1234 เวลา 24.00 น. คิดทด หักเดือน ตามอายุโหราจารย์ ตามสุริยคตินิยม จึงเป็นสิริอายุรวม 84 ปี พรรษา 64

คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณ และได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนา พระคาถานี้เป็นประจำ สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ

วิธีการสวด
เริ่มต้นสวด ให้สวดวันพฤหัสบดี โดยน้อมนำดอกไม้ธูปเทียน ถวายบูชาคุณพระศรีรัตนตรัย และดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถ้าไปวัดระฆังได้ยิ่งดี ถ้าไปไม่ได้ให้ระลึกถึงท่าน แล้วหันหน้าไปทางวัดระฆังก็ได้ แล้วเริ่มต้นอ่านตามบทให้ได้ 1 จบ เป็นเสร็จพิธี
หมั่นภาวนาไว้ จะทำน้ำมนต์ล้างหน้าก็ให้จุดเทียนบูชาว่าพระคาถา 1 จบ ประพรมข้าวของจะขายดี เจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่วยได้ มีอันตรายก็แคล้วคลาด ใครคิดร้ายก็แพ้ภัย เป็นสมบัติอมตะที่สมเด็จฯ ทิ้งไว้ให้ลูกหลานไว้สวดภาวนา
พระคาถาชินบัญชร
            ก่อนที่เจริญภาวนาให้ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ แล้วระลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แล้วตั้งนะโม 3 จบ
            ส่วนบทนำข้างล่างนี้ ตามฉบับเดิมนั้นไม่มี ไม่ทราบว่าผู้ใดต่อเติมเข้าไป บทนี้เป็นบทให้พรแก่ผู้อื่นของเจ้าประคุณสมเด็จโต ท่านใช้เวลาให้พรแก่พวกญาติโยมที่ไปหาท่าน ผู้ใดจะสวดด้วยหรือไม่ ก็ไม่เป็นไรแล้วแต่ความศรัทธา
            ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตุง                     ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
            อัตถิกาเยกายะญายะ                            เทวานัง ปิยะตัง สุตวา
            แปลตามใจความว่า ผู้ปรารถนาบุตร ขอให้ได้บุตรสมความปรารถนา ผู้ปรารถนาทรัพย์ จงได้ทรัพย์สมความปรารถนา และขออัญเชิญเทวดาจงมาร่วมรับรู้อนุโมทนาให้เขเหล่านั้นจงสำเร็จตามความปรารถนาทุกประการ
๑.     ชะยาสะนากะตา พุทธา                 เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง                   เย ปิวิงสุ นะราสะภา
๒.   ตัณหังกะราทะโย พุทธา                อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง                 มัตถะเก เต มุนิสสะรา
๓.    สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง                    พุทโธ ธัมโม ทวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง                อุเร สัพพะคุณากะโร
๔.    หะทะเย เม อะนุรุทโธ                   สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง            โมคคัลลาโน จะ วามะเก
๕.    ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง                  อาสุง อานันทะราหุลา
กัสสะโป จะ มหานาโม                 อุภาสุง สามะโสตะเก
๖.     เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง                   สุริโยวะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน                    โสภิโต มุนิปุงคะโว
๗.    กุมาระกัสสะโป เถโร                    มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง               ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
๘.    ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ                  อุปาลีนันทะสีวลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา                   นะลาเฏ ติละกา มะมะ
๙.     เสสาสีติ มะหาเถรา                       วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา                         ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ                   อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ                   ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ                 วาเม อังคุลิมาละกัง
๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ               อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ                   เสสา ปาการะสัณฐิตา
๑๒.          ชินาณาวะระสังยุตตา              สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา                   พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
๑๓.           อะเสสา วินะยัง ยันตุ               อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ                 สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
๑๔.           ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ            วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ               เต มะหาปุริสาสะภา
๑๕.           อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ ฯ
(ชินะปัญชะระคาถา นิฏฐิตา)
แหล่งข้อมูลจาก : หนังสือบทสวดมนต์ไหว้พระ

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิปัสสนากรรมฐานคืออะไร


วิปัสสนากรรมฐาน : เป็นเรื่องของการศึกษาชีวิต เพื่อจะปลดเปลื้องความทุกข์นานาประการ ออกเสียจากชีวิต เป็นเรื่องของการค้นหาความจริงว่าชีวิตมันคืออะไรกันแน่ ปกติเราปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปตามความเคยชินของมันเองปีแล้วปีเล่า มันมีแต่ความมืดบอด
วิปัสสนากรรมฐาน : เป็นเรื่องของการตีปัญหาการซับซ้อนของชีวิต เป็นเรื่องของการค้นหาความจริงของชีวิต ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำมา
วิปัสสนากรรมฐาน : เป็นการเริ่มต้นในการปลดเปลื้องตัวเราให้พ้นจากความเป็นทาสของความเคยชิน
ในตัวเรานั้น เรามีของดีที่มีคุณค่าอยู่แล้ว คือ สติสัมปชัญญะ แต่เรานำออกมาใช้น้อยนัก ทั้งที่เป็นของที่มีคุณค่าแก่ชีวิตหาประเมินมิได้ วิปัสสนาฯ เป็นการระดมเอา สติ ทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวเราเอาออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์
วิปัสสนากรรมฐาน : คือ การอัญเชิญ สติ ที่ถูกทอดทิ้ง ขึ้นมานั่งบัลลังก์ของชีวิต เมื่อสติขึ้นมานั่งสู่บัลลังก์แล้ว จิตก็จะคลานเข้ามามอบถวายบังคมอยู่เบื้องหน้าสติ สติจะควบคุมจิต มิให้แส่ออกไปคบหาอารมณ์ต่าง ๆ ภายนอก ในที่สุดจิตก็จะค่อยคุ้นเคย กับการสงบอยู่กับอารมณ์เดียว เมื่อจิตสงบตั้งมั่นดีแล้ว การรู้ตามความจริง ก็เป็นผลติดตามมา เมื่อนั้นแหละเราก็จะทราบได้ว่าความทุกข์มันมาจากไหน เราจะสกัดกั้นมันได้อย่างไร นั้นแหละคือผลงานของสติ
ภายหลังจากที่ได้ทุ่มเทสติสัมปชัญญะลงไปอย่างเต็มที่แล้ว จิตใจของผู้ปฏิบัติ ก็จะได้สัมผัสกับสัจจะแห่งสภาวธรรมต่าง ๆ อันผู้ปฏิบัติไม่เคยเห็นอย่างซึ้งใจมาก่อน ผลงานอันมีค่าล้ำเลิศของสติ สัมปชัญญะ จะทำให้เราเห็นอย่างชัดแจ้งว่า ความทุกข์นานาประการนั้น มันไหลเข้ามาสู่ชีวิตของเราทางช่องทวาร 6 ทวาร 6 นั้นเป็นต่อและบ่อเกิดสิ่งเหล่านี้คือ ขันธ์ 5 จิตร กิเลส
ช่องทวาร 6 นี้ ทางพระพุทธศาสนาท่านเรียกว่า อายตนะ อายตนะมีภายใน 6 ภายนอก 6 ดังนี้ อายตนะภายในมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอกมี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (กาย ถูกต้องสัมผัส) ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดจากใจ) รวม 12 อย่างนี้ มีหน้าที่ต่อกันเป็นคู่ ๆ คือ ตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง จมูกคู่กับกลิ่น ลิ้นคู่กับรส กายคู่กับการสัมผัสถูกต้อง ใจคู่กับอารมณ์ที่เกิดกับใจ
เมื่ออายตนะคู่ใดคู่หนึ่ง ต่อถึงกันเข้า จิตก็จะเกิดขึ้น ณ ที่นั้นเอง และจะดับลงไป ณ ที่นั้นทันที จึงจะเห็นได้ว่าจิตไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน การที่เราเห็นว่าจิตเป็นตัวเป็นตนนั้น ก็เพราะว่าการเกิดดับของจิตรวดเร็วมาก การเกิดดับของจิตเป็นสันตติคือ เกิดดับต่อเนื่องไม่ขาดสาย เราจึงไม่มีทางทราบได้ถึงความไม่มีตัวตนของจิต ต่อเมื่อเราทำการกำหนด รูป นาม เป็นอารมณ์ตามระบบวิปัสสนากรรมฐาน ทำการสำรวมสติสัมปชัญญะอย่างมั่นคงจนจิตตั้งมั่นดีแล้ว เราจึงจะรู้เห็นการเกิด-ดับของจิต รวมทั้งสภาวธรรมต่าง ๆ ตามความเป็นจริง
การที่จิตเกิดทางอายตนะต่าง ๆ นั้น มันเป็นการทำงานร่วมกันของขันธ์ 5 เช่น ตากกระทบรูป เจตสิกต่างๆ ก็เกิดตามมาพร้อมกัน คือ เวทนาเสวยอารมณ์ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ สัญญา จำได้ว่ารูปอะไร สังขาร ทำหน้าที่ปรุงแต่ง วิญญาณ รู้ว่ารูปนี้ ดี ไม่ดี หรือ เฉย ๆ กิเลสต่าง ๆ ก็จะติดตามเข้ามาคือ ดีชอบเป็นโลภะ ไม่ดีไม่ชอบเป็นโทสะ เฉย ๆ ขาดสติกำหนดเป็นโมหะ อันนี้เองจะบันดาลให้อกุศลต่าง ๆ เกิดขึ้นตามมา ความประพฤติชั่วร้ายต่าง ๆ ก็จะเกิด ณ ตรงนี้เอง
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน : โดยเอาสติเข้าไปเป็นที่ตั้งกำกับจิตตามช่องทวารทั้ง 6 เมื่อปฏิบัติได้ผลแก่กล้าแล้วก็จะเข้าตัดต่ออายตนะทั้ง 6 คู่นั้น ไม่ให้ติดต่อกันได้โดยจะเห็นตามความเป็นจริงว่า เมื่อตากระทบรูปก็จะเห็นว่าสักแต่ว่าเป็นแค่รูป ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน บุคคล เรา เขา ไม่ทำให้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง ให้เกิดความพอใจหรือไม่พอใจเกิดขึ้น รูปก็จะดับลงอยู่ ณ ตรงนั้นเอง ไม่ให้ไหลเข้ามาสู่ภายในจิตได้ อกุศลธรรมทั้งหลายก็จะไม่ตามเข้ามา
สติ ที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น นอกจากจะคอยสกัดกั้นกิเลสไม่ให้เข้ามาทางอายตนะแล้ว ยังเพ่งเล็งอยู่ที่รูปกับนาม เมื่อเพ่งอยู่ก็จะเห็นความเกิดดับของรูปนามนั้น จักนำไปสู่การเห็นพระไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่เป็นตัวตนของสังขาร หรืออัตภาพอย่างแจ่มแจ้ง
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น จะมีผลมากหรือน้อยเพียงใด อยู่ที่หลักใหญ่ 3 ประการ
1.                อาตาปี ทำความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน
2.                สติมา มีสติ
3.                สัมปชาโนมีสัมปชัญญะ อยู่กับรูปนามตลอดเวลาเป็นหลักสำคัญ
นอกจากนั้นผู้ปฏิบัติต้องมีศรัทธา ความเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้มีผลจริง ความมีศรัทธานี้เปรียบดุจเมล็ดพืชที่สมบูรณ์พร้อมจะงอกงามได้ทันทีที่นำไปปลูก ความเพียรประดุจน้ำที่พรมลงไปที่เมล็ดพืชนั้น เมื่อเมล็ดพืชได้น้ำพรมลงไปก็จะงอกงามสมบูรณ์ขึ้นทันที เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจะได้ผลมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้ด้วย
การปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติต้องเปรียบเทียบดูจิตใจของเราในระหว่าง 2 วาระ ว่าก่อนที่ยังไม่ปฏิบัติ และหลังการปฏิบัติแล้ว วิเคราะห์ตัวเองว่ามีความแตกต่างกันประการใด
หมายเหตุ เรื่องของวิปัสสนากรรมฐานที่เขียนขึ้นดังต่อไปนี้ จะยึดถือเป็นตำราไม่ได้ ผู้เขียนเขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติเท่านั้น โดยพยายามเขียนให้ง่ายแก่การศึกษาและปฏิบัติมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้เท่านั้นเอง

จากหนังสือคู่มือการฝึกอบรมพัฒนาจิต วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โดย พ.ท. วิง รอยเฉย ปี 2529