วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อานิสงส์การสวดพระคาถาชินบัญชร

อานิสงส์การสวดพระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชร เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกา เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ค้นพบในคัมภีร์โบราณ ได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้น เป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดได้สวดเป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล สมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ามากล้ำกลาย ไปทางใดย่อมเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ สวดแล้ว อธิฐานจะสมดั่งใจ
ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง



พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ชาติภูมิ เดิมชื่อ โต เป็นบุตรของนาง งุด บิดาไม่เป็นที่ปรากฏ ตา ชื่อ ผล ยายชื่อนางลา ถือกำเนิด ในแผ่นดิน รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช เมื่อ วันพฤหัสที่ 17 เมษายน พ.ศ.2331 สัมฤทธิศก จุลศักราช1150 เวลา ประมาณ 06.54 น. ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก
เดิมแม่เป็นชาวบ้าน ท่าอิฐ อำเภอบ้านโพ (อำเภอเมือง ในปัจจุบัน) จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาเกิดฝนแล้ง ติดต่อกันหลายปี ทำนาไม่ได้ผล จึงย้ายมาอยู่ ที่เมืองกำแพงเพชร (และน่าจะได้พบกับ พ่อของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จ ฯ(โต) ณ เมืองนี้) พอตั้งท้อง ก็ได้ไปอยู่กับยาย ที่เรือนแพหน้าวัดไก่จ้น และวัดสะตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่งุดเมื่อคลอดเด็กชายโตแล้ว ขณะยังนอนเบาะอยู่ก็ได้ย้ายไป อยู่บริเวณ วัดไชโย ใน จังหวัด อ่างทอง ระยะหนึ่ง ต่อมามารดา ก็ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐาน ไปอยู่ที่ตำบล บางขุนพรหม กรุงเทพฯ และสอนยืนได้ ที่บริเวณ ตำบลบางขุนพรหมนี้
เมื่อโตขึ้นแม่ได้มอบตัว ให้เป็นศิษย์ของ ท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาส วัดอินทรวิหาร เพื่อศึกษา อักขรสมัย เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปีวอก พ.ศ.2342 โดยมีพระบวรวิริยเถระ(อยู่) เจ้าอาวาสวัด บางลำภูบน (วัดสังเวชวิศยาราม-ปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบรรพชาแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ ณ วัดอินทรวิหาร จนหมดความรู้ ของครูอาจารย์ มีความประสงค์ ที่จะศึกษาภาษาบาลีต่อ ท่านเจ้าคุณอรัญญิกจึงได้นำไป ฝากอยู่กับ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(นาค เปรียญเอก) วัดระฆังโฆสิตาราม สามเณรโต เป็นผู้มีความวิริยะ อุตสาหะในการศึกษา เป็นอย่างดี มีวัตรปฏิบัติที่งดงามน่าเลื่อมใส จนปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปรานมาก ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พระราชทาน เรือกราบกัญญา หลังคากระแชง ให้ท่านไว้ใช้สอยตามอัธยาศัย เมื่ออายุ 20 ปี ตรงกับปีเถาะ พ.ศ.2350 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
โดยมีสมเด็จพระสังฆราช(สุก) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า พฺรหฺมรํสี และเรียกว่า มหาโต ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมณศักดิ์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไม่ติดในยศศักดิ์ ได้ปฏิเสธเรื่อยมา จนกระทั่งไม่สามารถ หลีกได้จึงจำใจยอมรับ เป็นพระธรรมกิตติ สถาปนาพร้อมกับ ตำแหน่งเจ้า อาวาสวัด ระฆังโฆสิตาราม โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีชวด พ.ศ.2395 ขณะอายุ 65 ปี
        – เป็นพระเทพกวี เมื่อปีขาล พ.ศ. 2397
        – เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
สถาปนาในคราวสมเด็จพระพุฒาจารย์(สน) วัดสระเกศมรณภาพลง ซึ่งตรงกับ วันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด พ.ศ.2407 นับเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ รูปที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปีที่ 5 แห่งแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) ได้ไปดูงานก่อสร้างพระโต วัดบางขุนพรหมใน(วัดอินทรวิหารปัจจุบัน) ได้มรณภาพ ที่บนศาลาการเปรียญ วัดบางขุนพรหมใน ด้วยโรคลมปัจจุบัน เมื่อวันเสาร์ ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 ตรงกับ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1234 เวลา 24.00 น. คิดทด หักเดือน ตามอายุโหราจารย์ ตามสุริยคตินิยม จึงเป็นสิริอายุรวม 84 ปี พรรษา 64

คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณ และได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนา พระคาถานี้เป็นประจำ สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ

วิธีการสวด
เริ่มต้นสวด ให้สวดวันพฤหัสบดี โดยน้อมนำดอกไม้ธูปเทียน ถวายบูชาคุณพระศรีรัตนตรัย และดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถ้าไปวัดระฆังได้ยิ่งดี ถ้าไปไม่ได้ให้ระลึกถึงท่าน แล้วหันหน้าไปทางวัดระฆังก็ได้ แล้วเริ่มต้นอ่านตามบทให้ได้ 1 จบ เป็นเสร็จพิธี
หมั่นภาวนาไว้ จะทำน้ำมนต์ล้างหน้าก็ให้จุดเทียนบูชาว่าพระคาถา 1 จบ ประพรมข้าวของจะขายดี เจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่วยได้ มีอันตรายก็แคล้วคลาด ใครคิดร้ายก็แพ้ภัย เป็นสมบัติอมตะที่สมเด็จฯ ทิ้งไว้ให้ลูกหลานไว้สวดภาวนา
พระคาถาชินบัญชร
            ก่อนที่เจริญภาวนาให้ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ แล้วระลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แล้วตั้งนะโม 3 จบ
            ส่วนบทนำข้างล่างนี้ ตามฉบับเดิมนั้นไม่มี ไม่ทราบว่าผู้ใดต่อเติมเข้าไป บทนี้เป็นบทให้พรแก่ผู้อื่นของเจ้าประคุณสมเด็จโต ท่านใช้เวลาให้พรแก่พวกญาติโยมที่ไปหาท่าน ผู้ใดจะสวดด้วยหรือไม่ ก็ไม่เป็นไรแล้วแต่ความศรัทธา
            ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตุง                     ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
            อัตถิกาเยกายะญายะ                            เทวานัง ปิยะตัง สุตวา
            แปลตามใจความว่า ผู้ปรารถนาบุตร ขอให้ได้บุตรสมความปรารถนา ผู้ปรารถนาทรัพย์ จงได้ทรัพย์สมความปรารถนา และขออัญเชิญเทวดาจงมาร่วมรับรู้อนุโมทนาให้เขเหล่านั้นจงสำเร็จตามความปรารถนาทุกประการ
๑.     ชะยาสะนากะตา พุทธา                 เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง                   เย ปิวิงสุ นะราสะภา
๒.   ตัณหังกะราทะโย พุทธา                อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง                 มัตถะเก เต มุนิสสะรา
๓.    สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง                    พุทโธ ธัมโม ทวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง                อุเร สัพพะคุณากะโร
๔.    หะทะเย เม อะนุรุทโธ                   สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง            โมคคัลลาโน จะ วามะเก
๕.    ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง                  อาสุง อานันทะราหุลา
กัสสะโป จะ มหานาโม                 อุภาสุง สามะโสตะเก
๖.     เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง                   สุริโยวะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน                    โสภิโต มุนิปุงคะโว
๗.    กุมาระกัสสะโป เถโร                    มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง               ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
๘.    ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ                  อุปาลีนันทะสีวลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา                   นะลาเฏ ติละกา มะมะ
๙.     เสสาสีติ มะหาเถรา                       วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา                         ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ                   อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ                   ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ                 วาเม อังคุลิมาละกัง
๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ               อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ                   เสสา ปาการะสัณฐิตา
๑๒.          ชินาณาวะระสังยุตตา              สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา                   พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
๑๓.           อะเสสา วินะยัง ยันตุ               อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ                 สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
๑๔.           ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ            วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ               เต มะหาปุริสาสะภา
๑๕.           อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ ฯ
(ชินะปัญชะระคาถา นิฏฐิตา)
แหล่งข้อมูลจาก : หนังสือบทสวดมนต์ไหว้พระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น