วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีทำบุญให้ได้บุญกุศลผลบุญ : การทำบุญบริจาคร่างกาย

การอุทิศร่างกายของเราให้นักศึกษาแพทย์ เพื่อให้เขาได้ทำการศึกษานสาขาวิชาของการรักษาพยาบาล นักศึกษาแพทย์ต่าง ๆ จะได้เรียนรู้จากร่างกายเรา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ที่จะรักษาพยาบาลชีวิตอื่น ๆ ต่อไป อันนี้ถือเป็การทำทานที่ยิ่งใหญ่ ได้มหากุศลอย่างแรง เป็นอานิสงส์อย่างแรงกล้ามาก

การบริจาคร่างกายนี้เป็นการทำบุญแบบให้ทาน ถ้าเราสละร่างกายของเราเมื่อเราตายแล้ว เราไม่หวงแหนร่างกายเรา ไม่มีความเสียดายอย่างใด แต่กลับอยากให้ร่างกายที่สิ้นชีวิตของเราเป็นประโยชน์กับผู้อื่น อันนี้ถือว่าเป็นการสร้างกุศลทานอันยิ่งใหญ่ที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์โดยแท้ 

การที่เราบริจาคร่างกายให้การสถานศึกษาด้านการแพทย์และพยาบล นั้นนับเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะสุข เป็นประโยชน์ทั้งด้านจริยธรรม และการเรียนรู้ต่าง ๆ แพทย์จะได้เรียนรู่จากกายวิภาคศาสตร์ และการศึกษาวิจัยทางแพทย์โดยรวมทั้งปวง ซึ่่งเป็นประโยชน์อันมาก 

เราจะทำการบริจาคร่างกายของเราได้โดยการไปสอบถามที่โรงพยาบาลต่าง ๆ หรืออาจจะไปที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยตรงเลยก็ได้ แล้วไปแจ้งความจำนงที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ว่าเราต้องการอุทิศร่างกายของเราให้เป็นการศึกษาทางการแพทย์เมื่อเราสิ้นชีวิตแล้ว ทางโรงพยาบาลก็จะมีใบเป็นระเบียบการให้เรามาอ่าน แล้วก็ให้เรากรอกรายละเอียดข้อความแสดงความจำนงเอาไว้ ระเบียบการนี้จะว่าด้วยการอุทิศร่างกายให้กับโรงพยาบาลเพื่อการศึกษาแพทย์ โดยจะระบุว่าเรามีความประสงค์จะอุทิศร่างกายของเราให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อเราได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว

หลักฐานที่เราเตรียมไปจะต้องมีรูปถ่าย 1 นิ้วหรือ 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป เตรียมสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการไปด้วย พร้อมกับสำเนาทะเบียนบ้านเพื่อจะได้กรอกแบบฟอร์มเป็นหลักฐานไว้

ผู้ที่จะแจ้งความจำนงบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาทางแพทย์ได้นั้นจะต้องมีอายุ 20 ปี บริบูรณ์แล้วเป็นต้นไป แต่ถ้ามีอายุต่ำกว่า 20 ปี จะต้องมีผู้ปกครองไปเซ็นยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

การแสดงความจำนงนี้เราสามารถไปยื่นความจำนงที่แผนกอุทิศร่างกายได้ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้โดยตรง เราจะได้แบบฟอร์ม 3 ฉบับ เก็บไว้ที่เรา 1 ฉบับ อีกฉบับเก็บไว้ที่โรงพยาบาล และอีก 1 ฉบับเจ้าหน้าที่จะเก็บไว้ ส่วนอีกทางหนึ่งเราสามารถแจ้งความจำนงทางไปรษณีย์โดยกรองแบบฟอร์มต่าง ๆ ผ่านไปทางไปรษณีย์ก็ได้

การบริจาคร่างกาย หรือการอุทิศร่างกายของเรานี้เมื่อเราถึงแก้กรรมแล้วทายาทของเราหรือญาติพี่น้องของเราหากจะขอสิทธิ์คัดค้านไม่มอบศพของเราให้กับโรงพยาบาล จะต้องแจ้งคัดค้านภายใน 24 ชั่วโมง กับทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยแจ้งเหตุผลต่าง ๆ ด้วย ถ้าเกิน 24 ชั่วโมงจะมาคัดค้านไม่ยินยอมให้ศพแก่โรงพยาบาลไม่ได้

แต่จะมีข้อแม้ว่าโรงพยาบาลจะไม่รับศพของผู้ที่อุทิศร่างกายหากอยู่ในเงื่อนไขว่าถึงแก่กรรมเกินกว่า 24 ชั่วโมง แล้วไม่ได้เก็บศพไว้ในห้องเย็นของโรงพยาบาล หรือถ้าผู้ที่อุทิศร่างกายเกิดอุบัติเหตุจนร่างกายแหลกและเสียหาย ไม่สะดวกแก่การนำไปศึกษาทางการแพทย์ ทางโรงพยาบาลก็ขอรับศพผู้ที่อุทิศร่างกายไปแล้ว หรืออาจจะมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่อยู่ในระเบียบแบบฟอร์มนั้น ขอให้อ่านและศึกษาหรือถามไถ่กับทางโรงพยาบาลให้ละเอียดก่อน

เมื่อเราแจ้งความจำนงบริจาคหรืออุทิศร่างกายให้กับโรงพยาบาลเสร็จสิ้นเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เท่ากับว่าเราได้ทำบุญทำทานอุทิศร่างกายของเราแล้ว เราก็จะได้บุญได้กุศล แม้ว่าเรายังไม่ถึงแก่กรรม และร่างกายของเรายังไม่ได้นำไปศึกษาก็ตาม แต่การที่เราเซ็นอุทิศร่างกายให้กับทางโรงพยาบาลแล้วก็เท่ากับว่าเราได้ตั้งใจและได้ทำบุญทำทานนี้เสร็จสิ้นแล้วโดยชอบ




วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีการทำบุญให้ได้กุศลผลบุญ : การทำบุญตักบาตร

ถ้าจะพูดถึงการทำบุญแล้ว พิธีกรรมอย่างแรกที่คนไทยเราคุ้นเคยกันดีตั่งแต่เด็กจนโตก็คืด การทำบุญตักบาตร แม้ว่าบางคนอาจจะไม่คุ้นชินกับการเข้าวัดทำบุญ แต่อย่างน้อยในครัั้งหนึ่งในชีวิตต้องเคยทำบุญด้วยการตักบาตร

การทำบุญตักบาตรเป้ฯการทำบุญที่เราสามารถทำได้ง่ายที่สุด เพาะบางคนนั้นอาจจะไม่ค่อยเดินทางไปที่วัด ไปกราบไหว้พระ หรือไปทำบุญถวายภัตตาหาร หรือไปถวายสังฆทานที่วัด แต่อย่างน้อยสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องเดินทางไปวัดก็คือการทำบุญด้วยการตักบาตร ซึ่งสามารถทำได้ตั่งแต่เวลาตื่นเช้ามาก่อนไปทำงาน ก่อนไปโรงเรียน เราจะสามารถพบพระสงฆ์องค์เจ้าเดินบิณฑบาตอยู่ในช่วงเช้า ซึ่งเราก็สามารถซื้ออาหารไปตักบาตรพระได้

การทำบุญตักบาตร คือการนำอาหารไปใส่ในบาตรพระสงฆ์ หรือเณรที่จะออกมาบิณฑบาตทุกเช้าในช่วงเวลาประมาณ 6.00 - 7.30 น. ทุก ๆ เช้า พระสงฆ์และเณรจะออกมาจากวัดเพื่อมาโปรดสัตว์อันเป็นการออกมาเพื่อให้ชาวบ้านได้ทำบุญทำทานกัน คือการถวายอาหาร หรือการแบ่งปันข้าวปลาอาหารให้พระสงฆ์องค์เจ้าผู้เป็นสาวกของศาสดา ผู้ทำหน้าที่ดำรงสืบทอดพระศาสนา เป็นผู้รักษาศีลธรรม อันมีชาวบ้านเป็นฆราวาสจะได้ช่วยเอื้อเฟื้อแก่ศาสนาด้วยการทำบุญและทำทานในลักษณะนี้

เรื่องของการทำบุญตักบาตนั้นตามธรรมเนียมที่ถูกต้อง ที่ทำบุญได้แล้วได้บุญได้กุศลจริง ๆ ก็คือ การเลือกสรรอาหารหรือการดูแลอาหารที่ดีสักหน่อย ตามคำในพระไตรปิฏกกล่าวไว้าถึงเรื่องการตักบาตรว่า ถ้าเรากินอย่างไรก็ให้ใส่อย่างนั้น หรือเรากินอย่างไรให้ใส่บาตรพระดีกว่านั้น มิใช่ว่าเรากินอย่างไรแล้วเราใส่บาตรในสิ่งที่ด้อยกว่า และเรื่องที่ไม่ควรลืมคือเรื่องของการถวายดอกไม้ธูปเทียน

ส่วนเรื่องการปฏิบัติตนในขณะตักบาตรนั้น ถ้าสะดวกในการถอดรองเท้าแล้วเหยียบบนรองเท้าของเราก็ได้ถ้าพื้นตรงนั้นมันสกปรกมาก แต่ถ้าบางคนสวมถุงเท้ารองเท้าผ้าใบเรียบร้อย ถ้าไม่สะดวกถอดก็ไม่เป็นไร

การตักบาตรให้ถูกธรรมเนียมพิธีของไทยแต่โบราณนั้นจะต้องกล่าวคาถาคำตักบาตรพระในใจไปด้ว

พระคาถาขณะตักบาตรพระ

"อิทัง ทานัง สีละวัน ตานัง ภิกขุนัง นิยาเทมิ สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสะวัก ขะยาวะหัง นิพานะปัจจะโย โหตุ"

คำแปล

ข้าพเจ้า ขอน้อมถวายของตักบาตรเหล่านี้ แด่พระสงฆ์ผู้มีศีลทั้งหลาย ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ

เมื่อตักบาตรแล้วกลับมาที่บ้านให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร หรือญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อเป็นการแบ่งปันบุญอุทิศส่วนกุศลด้วย ไม่ใช่เก็บบุญของตนไว้เพียงผู้เดียว

และธรรมเนียมการตักบาตพระนั้นควรจะใส่บ่อย ๆ เป็นประจำสม่ำเสมอ บางคนสะดวกที่จะตักบาตรทุกเช้าได้ก็เป็นบุญกุศลอันดีแก่ตน หรืออาจจะเลือกตักบาตรเฉพาะวันพระ หรือทุกวันเกิดของตน หรือไม่ต้องถือวาระโอกาศใด ๆ สะดวกเมื่อไหร่ก็ตักบาตรอาทิตย์ละ 3 - 4 ครั้ง ได้จะยิ่งเป็นการสั่งสมบุญกุศลที่ดี

การตักบาตรพระ

1. คือการสั่งสมบุญในแต่ละวัน

2. เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการทำบุญ คือการทำให้จิตใจพองฟู จิตใจเบิกบานแจ่มใส

3. เป็นการสร้างที่พึ่งแห่งตน คือมีบุญหรือมีความสุขอันเป็นที่พึ่ง

4. เป็นการช่วยรักษาพุทธปราณี เป็นการสงเคราะห์ผู้รักษาสืบทอดพระพุทธศาสนา

5. เพื่อเป็นการแสดงตนว่าจะดำรงอยู่ในความประพฤติดีประพฤติชอบและอยู่ในศีลธรรม

การตักบาตจะได้บุญนั้นต้องสงบจิตใจให้บริสุทธิ์ และเต็มไปด้วยความศรัทธาโดยมีเจตนาบริสุทธิ์ ก่อนถวายต้องตั้งใจเสียสละและตั้งใจให้ทานอย่างแท้จริง ขณะถวายก็ต้องมีจิตใจเลื่อมใส ถวายอาหารพระด้วยความเรารพเลื่อมใส หลักจากถวายแล้วก็ต้องยินดีในทานที่ได้สละทานนั้นไป มีจิตใจเบิกบานที่ได้สระหรือได้ให้ทานสิ่งที่ตนเองถวายไปแล้ว

การกรวดน้ำ

การกรวดน้ำนั้นหมายถึง การแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลด้วยวิธีหลั่งน้ำ การกรวดน้ำมี 4 ลักษณะ

1. การกรวดแผ่ส่วนกุศล

2. กรวดน้ำตัดขาดจากกัน

3. กรวดน้ำยกกรรมสิทธ์ให้

4. กรวดน้ำเพื่อตั้งความปรารถนา

การกรวดน้ำควรที่จะค่อย ๆ รินน้ำอย่าให้น้ำขาดสาย จากนั้นจึงนำน้ำที่กรวดน้ำไปแล้วไปเททิ้งที่โคนต้นไม้กลางแจ้ง เคยกันมีผู้สงสังกันมากว่าเมื่อทำบุญแล้ว หากไม่ได้กรวดน้ำเราจะได้บุญหรือไม่ บุญนั้นเป็นสิ่งที่ทำแล้วก็ได้แก่ตนเอง บุญไม่หายไปไหน และการกรวดน้ำนั้นควรจะใช้มือขวาในการกรวดน้ำ เพื่อเป็นการแสดงถึงความเคารพในทานและบุญที่ตนได้ให้ไป

คาถากรวดน้ำแผ่ส่วนกุศล

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มาดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์ของอาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้สำเร็จแก้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ




วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

การทำบุญ

การทำบุญ คือการกระทำสิ่งที่ดีงามตามหลักคำสอนพระพุทธศาสนา การทำบุญนั้นเป็นไปเพื่อการแสดงการทำนุบำรุงศาสนา เป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และการพร้อมที่จะตั้งมั่นอยู่ในวิธีอันดีงาม ในวิธีของคนไทยชาวพุทธเกิดมาแล้วย่อมคุ้นเคยกับการทำบุญ เข้าวัด ที่แสดงถึงการเป็นพุทธศานิกชนที่ดี และเป็นการสร้างจิตใจของเราให้มีความสงบสุขนำไปถึงความสมัครสมานสามัคคีในครอบครัว ในหมู่วงสังคมเล็ก ๆ จนถึงวงสังคมใหญ่ ๆ เมื่อมีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นประจำ จิตใจเกิดความสงบร่มเย็น ก็จะมีผลไปสู่วิธีการที่จะคิดหรือใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีความร่มเย็น ถ้อยทีถ้อยอาศัย เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ตั่งแต่กับคนในครอบครัว สมาชิกในบ้านจนถึงสมาชิกในสังคมและเพื่อนร่วมโลก

แต่จะกล่าวกันในด้านความเชื่อแล้ว คนไทยเรามีความเชื่อกันว่าเมื่อทำบุญแล้วก็จะได้บุญ การทำบุญจึงต้องทำด้วยจิตใจที่สงบ งดงาม นอกจากการทำบุญด้วยวัตถุและพิธีกรรมต่าง ๆ แล้วก็ยังต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่สร้างบาปกับผู้อื่นด้วย การทำบุญ แบ่งได้ดังนี้

การทำบุญแบบทานมัย

เป็นการทำบุญด้วยการบริจาคทาน หาสิ่งของในบ้าน เช่น เสื้อผ้า หนังสือ ข้าวของเครื่องใช้บางอย่างที่ยังใช้งานได้อยู่บ้าง นำไปบริจาคให้แก้คนยากไร้ อาจจะเป็นคนท่ีประสบทุกข์ภัยจากอัคคีภัย ไฟไหม้บ้าน หรือคนที่เขาขัดสนจนยากและต้องการความช่วยเหลือตามสถานสงเคราะห์หรือแม้แต่คนที่อยู่ในละแวกบ้านก็ได้ หรือจะให้ที่แห่งหนใดที่เราไปพบเจอก็ได้ ถ้าเห็นเค้ายากไร้ลำบาก ให้นำเสื้อผ้าไปบริจาค นำสิ่งของต่าง ๆ ไปแบ่งปันให้เขา โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักกัน และไม่จำเป็นต้องทราบมาว่าเขาขอความช่วยเหลือ ถ้าเราเห็นใครลำบาก เห็นใครยากไร้ เราสามารถที่จำทำทานให้แก่เขาได้ แบ่งปันให้เขาได้ ถือเป็นการทำบุญแบบทานสมัย คือการบริจาคทาน หรืออาจจะเป็นการบริจาคด้วยเงินก็ถือเป็นการทำทานเช่นกัน เช่นถ้าเราบังเอิญผ่านไปที่ใดแล้วพบเห็นเด็กยากไร้ที่ต้องคุ้ยเขี่ยหาของในขยะไปขาย หากเขาใส่เสื้อผ้าขาดเก่า เราอาจนำเสื้อผ้ามาแบ่งปันให้เขาสัก 2-3 ชุด หาหนังสือมาให้ หรือหาข้าวของเครื่องใช้บางอย่าง แม้จะเป็นเพียงครั้งเดียวแล้วก็จากกันไป เราไม่สะดวกที่จะสามารถดูแลอย่างอื่นได้อีก แม้เป็นเพียงครั้งเดียวก็ถือเป็นการให้ทานแล้ว และถ้าหากเราประพฤติปฏิบัติเช่นนี้บ่อย ๆ กับคนยากไร้อื่น ๆ ก็ถือว่าเป็นบุญทานมัยที่ดีงาม เพราะมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการขูดความตระหนี่ ขูดความเห็นแก่ตัวออกจากตน การทำบุญให้ทานนี้เป็นการทำบุญอันประเสิฐที่จะได้กุศลได้อนิสงส์แก่ตนในระดับสูง เพราะเป็นการให้เพื่อช่วยเหลือเขามิได้ให้เพื่อที่จะคิดแต่ว่าทำบุญแล้วเราจะได้บุญด้วยความอิ่มใจ

การทำบุญแบบสีลมัย

สีลมัย คือการรักษาศีล เป็นการลดความประพฤติที่ไม่ดี เป็นการขูดกิเลสตัณหาออกไปจากตนเองบ้าง การทำบุญด้วยการรักษาศีลนี้ ก็ถือเป็นการสร้างกุศลอย่างหนึ่ง เพราะเราไม่ได้ทำบุญเพื่อที่จะหวังเอาบุญอย่างเดียว เราไม่ได้ทำเพื่อจะคิดว่าทำบุญแล้วจะได้ไปสวรรค์ ได้อานิสงส์ตอบแทน แต่การรักษาศีลเป็นการทำเพราะเราต้องการมีสติเราต้องการละเว้นความประพฤติที่ไม่ดี เราปรารถนาที่จะใช้ชีวิตอยู่ในศีลธรรมอันงดงาม อันเป็นการสร้างความดีแก่ตนเองและไม่เบียดเบียนใคร

สีลมัยนี้แม้จะเป็นการทำบุญด้วยการรักษาศิล แต่จะเป็นการตั้งใจที่จะรักษาศีลตลอดเวลา มิใช่การตั้งจิตอธิฐานว่าจะรักษาศีล 5 เวลา 3 วัน 7 วัน แต่เป็นการตั้งใจว่าจะอยู่ในศิลธรรมเสมอไปทุกวันเวลา โดยจะเริ่มเคร่งครัดจากศีลข้อใดก่อนก็ได้ ค่อย ๆ ทำเป็นอย่างสมบูรณ์ทุกข้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไม่ทำลายไม่เบียดเบียนชีวิตคนอื่น ไม่ลักทรัพย์ ไม่พูดปด ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ดื่มสุราเมรัย แต่ก็ไม่ใช่ศีล 5 ข้อนี้เท่านั้นที่เราควรพึงรักษา ศีลและธรรมอันเป็นความดีงามทุกข้อเราก็ควรรักษาให้เคร่งครัดจึงเรียกว่าเป็น สีลมัย โดยแท้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการระงับอารมณ์โกรธ การให้อภัย การไม่ผูกพยาบาทใครก็ถือว่าเป็นการอยู่ในศีล เป็นการรักษาศีลให้ถึงพร้อม

การทำบุญแบบภาวนามัย

ภาวนามัย ก็คือการฝึกรักษาจิตให้สงบ เพื่อให้เกิดปัญญาและสมาธิ ซึ่งการทำบุญแบบนี้สามารถทำได้ด้วยการหมั่นสวดมนต์ภาวนาเป็นประจำ ให้เป็นนิจศีล มิใช่ปีหนึ่งสวดมนต์เพียงครั้งเดียว แต่การทำบุญแบบภาวนามัยนี้จะต้องเป็นการสวดมนต์ภาวนาเป็นประจำ อาจเริ่มต้นด้วยการสวดมนต์ทุกวันพระหรือทุกวันคล้ายวันเกิดตน เช่น ถ้าเกิดวันจันทร์ให้สวดมนต์วันจันทร์เป็นต้น

การสวดมนต์ภาวนานี้ให้สวดตามหนังสือสวดมนต์ต่าง ๆ โดยจะเลือกสวดตอนเช้าก่อนออกจากบ้านหรือช่วงเวลาเงียบสงบก่อนเข้านอนก็ได้

การทำบุญแบบอปจายนมัย

อปจายนมัย หมายถึง ความถ่อมตน ความอ่อนน้อม ซึ่งที่จริงแล้วเป็นคุณลักษณะของการประพฤติตนที่ดีที่งาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรยึดถือปฏิบัติกันอยู่แล้วสำหรับการดำรงตนให้อยู่ในชีวิตประจำวัน

การทำบุญแบบเวยยาวัจจมัย

เวยยาวัจจมัย หมายถึง การสละแรงกายของตนเพื่อช่วยเหลือคนอื่น หรือช่วยเหลือส่วนรวมที่ไม่ได้เป็นการกระทำเพื่อตนเอง

การทำบุญด้วยวิธีนี้ เป็นกุศลในระดับสูงเพราะเราทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก้ผู้อื่นเป็นสำคัญในเบื้องต้น ผู้อื่นจะได้ประโยชน์เป็นอันดับแรกมิใช่ตัวเรา

เราสามารถทำบุญด้วยการสละแรงกายได้เสมอ ได้ทุกหนทุกแห่ง เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีกำลังทรัพย์ที่จะทำบุญ เราอาจจะใช้กำลังกายนี่แหละทำบุญทำทานในแบบเวยยาวัจจมัยนี้บ้างก็จะได้บุญกุศลอย่างแรง

การทำบุญแบบปัตติทานมัย

ปัตติทานมัย หมายถึง การเผื่อแผ่ความดีให้ผู้อื่นได้ร่วมในความดีนี้ด้วย ซึ่งก็เฉกเช่นเดียวกับข้อที่กล่าวไปแล้วคือ ความดีนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของการทำบุญในขอบเขตพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด หรือจะหมายถึงการทำในพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน

ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าเราจะนำสิ่งของหรือเงินทองไปบริจาคมูลนิธิเด็กพิการซ้ำซ้อนแล้วเราได้ไปบอกเพื่อน ๆ ของเราให้ร่วมทำบุญนี้ด้วย โดยไปบอกกล่าวว่า ใครมีของอะไรก็นำมาบริจาคกัน หรือจะบริจาคเงินทองก็ได้ อย่างนี้แหละเรียกว่าการเผื่อแผ่ความดีให้คนอื่นได้ร่วมทำบุญกับเราด้วย

การทำบุญแบบปัตตานุโมทนามัย

ปัตตานุโมทนามัย หมายถึง การยินดีในการทำความดีของผู้อื่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก เพราะถ้าเราสามารถสร้างบุญแบบปัตตานุโมทนามัยนี้ได้เราจะได้กุศลในระดับสูง เพราะจิตใตเรานั้นยกย่องและชื่นชมในคุณงามความดีของบุคคลอื่น

การทำบุญแบบธัมมัสสวนมัย

ธัมมสัสสวนมัย หมายถึง การฟังธรรม การศึกษาธรรม ซึ่งเป็นการรับเอาสิ่งที่ดีงามมาคิด ไตร่ตรอง การทำบุญแบบนี้สามารถทำกับตัวเองก็ได้ หรือแบ่งปันให้กับผู้อื่นก็ได้ การที่เราหาหนังสือธรรมมาฟัง หรือไปฟังเทศน์ฟังธรรมจากพระ แล้วก็ได้มการครุ่นคิดไตรตรองถึงหลักคำสอนที่ดีงามนั้นไปด้วย นี่แหละถือว่าเป็นการเก็บเกี่ยวบุญกุศลแบบธัมมสัสสวนัยอย่างหนึ่ง ซึ่งจะได้ผลดีแก่ตัวเราเองโดยแท้ทีเดียว

การทำบุญแบบธัมมเทสนามัย

ธัมมเทสนามัย คือการให้ธรรมะ หรือเป็นการให้ข้อคิดหลักคำสอนที่ดีที่งามแก่คนอื่น เช่น พระสงฆ์ที่เทศน์ให้ชาวบ้านฟัง แต่สำหรับฆราวาสทั่วไปหรือตัวเราที่เป็นชาวบ้านคนธรรมดาทั่วไปก็สามารถทำได้ด้วยการพูดข้อธรรมะดี ๆ จากปากของเราให้กับผู้อื่นได้รับฟัง หรือเป็นการหาหนังสือธรรมะให้ผู้อื่น แสดงแนวทางความเป็นจริงแห่งชีวิตตามหลักธรรมะให้ผู้อื่นได้ฟ้ง ไม่ว่าจะเป็นการปลอบโยน หรือการให้ข้อแนะนำใด ๆ ก็ตาม ที่ทำให้เขาคิดได้ ไตร่ตรองได้ ได้พิจารณาธรรมไปด้วย อย่างนี้เรียกว่าเป็นการทำบุญแบบธัมมเทสนามัย

การทำบุญแบบทิฏฐชุกรรม

ทิฏฐชุกรรม หมายถึง การนึกคิดในสิ่งที่ดี ที่งาม ที่ถูกต้อง ซึ่งความจริงแล้วแนวประพฤตินี้เป็นสิ่งที่เราต้องพึงกระทำอยู่แล้วในการดำรงชีวิตของเราเอง เพราะถ้าเรามีความนึกคิดที่ดี มีความคิดอันงดงาม มีความคิดในทางที่ถูกต้อง เราก็จะไม่เดินเบี่ยงเบนไปในทางที่ผิดไม่ว่าจะเป็นทางศีลธรรม หรือทางกฏหมาย ชีวิตเราก็ย่อมมีแต่ความสุขความเจริญ





วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

ความหมายของ "ทาน"

"ทาน"

1. ธรรมทาน คือการให้ธรรมะเป็นทาน เช่น ถ้ามีผู้ใดหรือวัดใดประสงค์จะจัดพิมพ์หนังสือธรรมะเพื่อแจกจ่าย แล้วมีผู้ร่วมสนับสนุนจัดพิมพ์ อาจจะร่วมลงเงิน บางคนร่วมลงแรง ช่วยหาข้อมูล ช่วยออกแบบปก เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ให้ธรรมะเป็นทาน แต่จะเป็นการให้ทางอ้อม ผู้ให้ทางตรงก็คือ ผู้จัดพิมพ์หนังสือธรรมะ

ผู้ที่พูดข้อธรรมะ ให้ผู้อื่นได้รับฟัง ถือเป็นผู้ให้ธรรมะเป็นทาน เช่น ญาติมิตรที่เป็นทุกข์ แล้วเราปลอบโยนด้วยข้อธรรมะต่าง ๆ มาพูดให้เขามองเห็นและเข้าใจหลักความจริงของชีวิตหรือเราหาหนังสือธรรมะมาให้เขาอ่าน ล้วนเรียกว่าเป็น "ธรรมทาน" ซึ่งทานนี้จะสำเร็จได้ก็ต้องมีผู้รับทาน เพราะถ้าเราพูดข้อธรรมะอธิบายถึงเหตุแห่งทุกข์และชีวิตเพื่อดับทุกข์ให้เพื่อนฟัง แต่เขาปฏิเสธ อย่างนี้ถือว่าทานนี้ไม่สำเร็จ และยังไม่สมบูรณ์

2. อภัยทาน คือการให้อภัย เมื่อเราไม่คิดผูกใจเจ็บหรือเคืองพยาบาทใคร การให้อภัยนี้ก็เป็นอภัยทาน คือการให้ด้วยการอภัยเขา ยกโทษให้แก่เขา อภัยทานนี้มีอนิสงส์ผลบุญมาก เพราะจะไม่มีการสร้างกรรมผูกพันกันต่อไปในชาติภพต่าง ๆ

อภัยทานนี้ทำได้หลายอย่าง ถ้าใครมาขออภัยเราแล้ว เรารับคำขอโทษนั้้น อย่างนี้ก็เป็นการให้อภัยทั้งทางกาย ทางวาจา และถ้าในใจเราตัดความโกรธออกไปได้จริง ๆ ด้วย ก็เป็นการให้อภัยทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจโดยสมบูรณ์

การที่เราไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทำร้าย ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน อย่างนี้ก็นับเป็นอภัยทานด้วยอีกประการหนึ่ง

อภัยทาน หรือ การทำทานด้วยการให้นี้เป็นการทำบุญที่ทำได้ไม่ง่าย เพราะมิใช่เป็นการทำบุญสร้างกุศลด้วยวัตถุหรือการกระทำอื่น ๆ ใด ๆ ไม่เหมือนกับการเดินออกไปแล้วนำสิ่งของไปถวายพระ แต่อถัยทานต้องทำที่ข้างในจิตใจของเราเอง หากเมื่อให้อภัยทานได้ จักเกิดกุศลแก่ตนอย่างสูงกับการที่อยู่ด้วยจิตอันแผ่เมตตาต่อผู้อื่นเป็นนิตย์

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

ความหมายของบุญกับกุศล

คำว่า "บุญ" กับ "กุศล"  มักอยู่คู่กันเสมอ แต่ในความหมายที่แท้จริงแล้วสองคำนี้มีความหมายเป็นคนละอย่างกัน

บุญเป็นสิ่งที่ทำให้ฟูขึ้น ทำให้พองขึ้น เป็นความอิ่มใจสุขใจ เมื่อทำบุฐแล้วใจก็พองขึ้นฟูขึ้น

กุศลนั้นหมายถึง แผ้วถาง การทำให้ราบเตียน ซึ่งก็คือการกำจัดความรู้สึกอันเป็นกิเลสในใจ มิว่าจะเป็นความปรารถนาในทางสุขใจหรือทุกข์ใจ

คนเรานั้นเมื่อทำบุญ ก็ย่อมนึกหวังไปในใจว่าทำบุญแล้วชาติหน้า จะได้สุขสบายมีความเจริญเป็นลำดับแรก และอาจคิดต่อไปว่าทำบุญแล้วชาติหน้าจะได้สุขสบาย หรือตายไปชาตินี้จะไม่ตกนรก อันนี้ถือเป็นความคิดธรรมดาของปุถุชน ไม่ถือว่าผิดแต่อย่างใด ไม่ถือว่าผิดที่ทำบุญแล้วหวังผล เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราทำบุญแล้วจิตใจสบาย จึงคิดจึงรู้สึกไปได้

แต่กุศลนั้นเป็นการแผ้วถาง การสร้างกุศลจึงเป็นเสมือนการสร้างจิตให้มิคิดคาดหวังแต่ความสุขใด กุศลเป็นการปล่อยวางไม่หวังไม่ยึดติดสิ่งใด แม้ความหมายจะแตกต่าง แต่เรื่องบุญเรื่องกุศลก็เป็นเรื่องที่แยกไม่ออก

เมื่อคนเราทำบุญนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไปทำบุญถวายสังฆทาน เราก็จะมีความสุขความอิ่มเอิบใจเมื่อทำบุญแล้ว ต่อไปถ้าเราทำทาน โดยให้ทานแก่คนหรือสัตว์ เช่น นำอาหารแบ่งปันให้คนหรือสัตว์จรจัดที่หิวโหย หรือแบ่งทรัพย์ แบ่งเสื้อผ้า อาหาร ให้แก้คนยากไร การทำทานนี้นอกจากได้บุญแล้ว ยังได้กุศลด้วย เพราะเราได้สละของของเราให้แก่ผู้อื่น เราขูดความตระหนี่ถี่เหนียวของเราออกไป เราไม่หวงไม่ยึดติดว่าเป็นของเรา แต่กลับคิดถึงผู้อื่นอีกด้วย เป็นการแผ้วถางกิเลสแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม การได้ทำทานก็ถือว่าไม่ได้ทำเพื่อให้ตัวเองอิ่มใจแต่อย่างเดียว เพราะเป็นการทำให้ผู้อื่นได้ประโยชน์สุขด้วยนั่นเอง

ดังนี้จะเห็นได้ว่าบุญกุศลนั้นย่อมอยู่ด้วยกัน เป็นเนื้อนาบุญเดียวกันแม้จะต่างกันในความหมาย

แต่ถ้ามองให้ดีเราจะเห็นได้ว่า กุศลนั้นเป็นบุญชั้นสูงขึ้นไปกว่าบุญในเบื้องต้น เพราะกุศลเป็นบุญที่ทำโดยจิตบริสุทธิ์แท้ ๆ มีมีการคาดหวังผลอันใดตอบแทนแต่กลับจะยิ่งเป็นพลังบารมีที่สร้างสมขึ้นมาจากความว่าง ความมิคาดหวังผลใด ๆ ความที่ตัดหรือแผ้วถางกิเลสให้ราบให้เตียนไปนั้นแหละยิ่งเป็นมหากุศลโดยแท้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นกุศลและบุญย่อมเติบโตก่อเกิดจากแดนดินเดียวกัน คือเกิดจากจิตอันปรารถนาจะทำบุญและสร้างกุศลนั้นเอง

ผลของบุญ 10 หลักธรรมะ

1. ผลของบุญ 9 ประการ จากการบริจาคทาน
     1.1 มีรูปโฉมงดงาม หน้าตาดีและสมบูรณ์พร้อมไม่มีตำหนิ
     1.2 รูปกายทรวดทรงองค์เอวสมส่วน แข็งแรง ไม่สูงเกินไป ไม่เล็กเกินไป ผิวพรรณงาม
     1.3 มีความแข็งแรง มีพละกำลัง
     1.4 มีปัญญาเฉียบแหลม สติแจ่มใส มีไหวพริบปฏิภาณ
     1.5 กำลังของจิตในดีเยี่ยม ดวงชะตามีกำลังกล้าแข็ง
     1.6 มีความทะนงองอาจในตัว
     1.7 สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่ถูกโรคภัยเบียดเบียน
     1.8 จะมีแวดล้อมเพียบพร้อมด้วยบริวารและเพื่อนฝูง
     1.9 มีอายุยืนยาว

2. ผลของบุญ 9 ประการ จากการไม่ลักทรัพย์
     2.1 มั่งมีสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์
     2.2 อยู่ดีกินดี ไม่ขัดสน
     2.3 สมปรารถนาในสิ่งที่ประสงค์
     2.4 ไม่ลำบากยากไร้ ชีวิตราบรื่น
     2.5 มีความรุ่งเรื่องก้าวหน้าในอาชีพ
     2.6 ปลอดภัยแคล้วคลาดจากภัยอันตรายต่าง ๆ

3. ผลบุญ 11 ประการ จากการประพฤติผิดในกาม
     3.1 เกิดในตระกูลสูง มีครอบครัวที่ดี
     3.2 มีความสมรัก มิต้องพรัดพรากสูญเสียคนรัก
     3.3 ไม่มีศรัตรูผู้คิดร้าย
     3.4 มีเงินทองทรัพย์สินอุดมสมบูรณ์
     3.5 มีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี
     3.6 ไม่เกิดผิดเพศ
     3.7 ได้เกิดในเพศที่ตนปรารถนา
     3.8 เป็นบุคคลที่มีผู้คนชื่นชมยกย่อง
     3.9 มีความแจ่มใสเบิกบาน จิตใจไม่หม่นหมอง
     3.10 มีเกียรติ มีบารมี ไม่มีคนดูหมิ่น
     3.11 ชีวิตก้าวหน้า ไม่ตกต่ำ

4. ผลบุญ 8 ประการ จากการไม่พูดปด
     4.1 พูดจามีคนชื่นชม มีน้ำเสียงพูดไพเราะน่าฟัง
     4.2 มีลมหายใจอันหอมสะอาดสดชื่น
     4.3 มีฟันอันแข็งแรงสวยงาม
     4.4 มีดวงตาสวย และมีสายตาคมชัด
     4.5 เนื้อตัวหอม กลิ่นกายหอมเหมือนดอกไม้
     4.6 บุคลิกสง่า งดงาม
     4.7 มีความแข็งแรงมั่นคงในจิตใจ
     4.8 คำพูดคำจาจะเป็นที่น่าเชื่อถือเสมอ

5. ผลบุญ 4 ประการ จากการไม่พูดส่อเสียด
     5.1 จะมีผู้ชื่นชมให้เกียรติ ผู้มีความรู้จะยกย่อง
     5.2 เป็นผู้ไม่ดูถูกตนไม่โทษตน เพราะรู้ตัว รู้ตน
     5.3 รู้จักเปิดใจรับฟังความเป็นจริงอย่างเปิดใจ
     5.4 มีมิตรที่รักใคร่จริงจังต่อกัน

6. ผลบุญ 4 ประการ จากการไม่พูดคำหยาบคาย
     6.1 มีคำพูดที่ดี บุคลิกมารยาทงดงาม
     6.2 มีทรัพย์เงินทองสมบูรณ์ไม่ขาด
     6.3 ได้ฟังแต่เสียงและคำพูดก็น่าฟัง
     6.4 ละสังขารด้วยสติดันแจ่มใสไม่เลอะเลือน

7. ผลบุญ 4 ประการ จากการไม่พูดเพ้อเจ้อ
     7.1 ดวงดี จะมีวาสนาบารมี
     7.2 มีผู้คนพึงพอใจในวาจาเสมอไป
     7.3 เป็นผู้มีสติปัญญาแจ่มใส พูดจาดีไม่มีโทษ
     7.4 วาจาน่าเชื่อถือ มีหลักการดี

8. ผลบุญ 4 ประการ จากการไม่ปองร้ายอาฆาต
     8.1 ไม่ทรมานด้วยโรคภัยเบียดเบียน
     8.2 รูปโฉมงดงาม ผิวพรรณผุดผ่อง
     8.3 อายุมั่นขวัญยืน
     8.4 หมดอายุขัยตามวัย ไม่ไปก่อนวัยที่สมควร

9. ผลบุญ 4 ประการ จากการเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม
     9.1 ได้เกิดในครอบครัวที่มีความรู้ มีตระกูลดี
     9.2 ฐานะดี มีเกียรติ ไม่ต่ำต้อยกว่าผู้อื่น
     9.3 มีความฉลาด ปัญญาดี
     9.4 อยู่ในคุณธรรม เป็นที่นับถือของคนทั่วไป

10. ผลบุญ 4 ประการ จากการไม่โลภอย่าได้ของผู้อื่น
     10.1 เป็นผู้มีโชคลาภ ได้สิ่งของที่น่ายินดีเสมอ
     10.2 เกิดในครอบครัวที่ดี มีชาติตระกูล
     10.3 มีผู้คนนับถือยกย่อง
     10.4 อุดมด้วยเงินทองทรัพย์สมบัติ

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

ผลของบุญที่ผู้ครองขุมทรัพย์แห่งบุญพึงได้รับ

เมื่อหมั่นทำบุญอย่างถูกต้องและทำด้วยจิตอันศรัทธามุ่งมั่นแล้ว ผลของผลบุญก่อเกิดที่ละนิดจนสร้างสมเพิ่มพูนไปตามความสม่ำเสมอของการสร้างบุญสร้างกุศลเป็นนิจศีล เสมือนตักน้ำใส่โอ่งวันละน้อยบ้างมากบ้าง หมั่นตักน้ำใส่โอ่งทุกวันหรือเว้นวัน มิช้านานวันน้ำย่อมเต็มโอ่ง มีไว้พร้อมสำหรับให้เราได้ประโยชน์จากโอ่งน้ำนั้น คือได้ตักเอาน้ำในโอ่งนั้นมาใช้ดื่ม ใช้อาบรดตัวให้เย็นชื่นดับร้อน ใช้หุงหาอาหารและประโยชน์อีกนานาประการ

บุญที่ทำเป็นนิตย์นั้นจะเพิ่มพลังอนุภาคมากขึ้น ผู้ทำบุญมากย่อมมีขุมทรัพย์บุญเป็นของตนเอง ในทางศาสนาเรียกว่า "บุญนิธิ" ผู้ครองบุญนิธิหรือครองขุมทรัพย์แห่งบุญนั้นจะมากมีด้วยสมบัติบุญดังต่อไปนี้

1. เกิดเป็นผู้มีรูปโฉมงดงาม มีรูปกายวามสว่าดั่งเทพบุตรหรือเทพธิดา

2. เกิดเป็นผู้มีรูปร่างสมบูรณ์พร้อม ไม่มีส่วนใดบกพร่อง เช่น ไม่สูงเกินไป ไม่ขาวเกินไป ไม่คล้ำเกินไป ไม่ผอมหรือไม่อ้วนเกินไป แขน-ขาเรียวงาม

3. จักมีผิวพรรณดั่งทองคำ คือมีความผุดผ่องและเปล่งปลั่งอยู่เสมอ

4. น้ำเสียงของการพูดจาประดุจดั่งระฆังเงิน มีเสียงอันไพเราะน่าฟัง เป็นที่น่าหลงใหลเหมือนเสียงนกร้องหรือเสียงของพรหม

5. ได้เป็นผู้มีบารมี เป็นผู้มีความยิ่งใหญ่เป็นที่นับถือยำเกรงของคนทั่วไป

6. มีความเป็นอิสระเสรีจากสิ่งพันธนาการทั้งปวงมิว่าความทุกข์หรือเคราะห์ภัย หรือสิ่งที่เป็นรูปพรรณใดๆ

7. จะเป็นผู้มีความสุขสำราญดั่งจักรพรรดิ

8. มีบริวารแวดล้อมเป็นอันมาก

9. จะเป็นใหญ่ดั่งพระราชาของเขตแคว้นนั้น

10. เป็นผู้มีความรอบรู้เชี่ยวชาญในการทั้งปวง และตระหนักรู้ในทางธรรมด้วย

11. พร้อมด้วยสมบัติของมนุษย์ คือ เงิน ทอง อัญมณีและทรัพย์สิ้นทั้งหลาย

12. พร้อมด้วยสมบัติของหนทางนิพพาน

13. พร้อมด้วยสมบัติในสวรรค์ คือดับแล้วไปจุติบนสวรรค์ เป็นผู้มีวิญญาณเป็นทิพย์เป็นเทวดานางฟ้านั่นเอง

14. จะมีปัญญาแตกฉานในการคิดหาทางพ้นทุกข์และพ้นจากวิกฤตแห่งชีวิตได้ด้วยตนเอง

15. บุญบารมีมากขึ้นก็จะครองสมบัติแห่งบุญที่สูงขึ้นไป คือ จะมากด้วยบารมีอันยังความเป็นพระสาวกให้สำเร็จอีกด้วย

ผลบุญที่เป็นขุมทรัพย์แห่งบุญนี้จะสนองตอบต่อบุคคลแตกต่างกันไปตามกำลังของบุญที่เคยทำมาในชาติปางก่อน ถ้าทำบุญมากแต่ก็ทำกรรมมาก่อนด้วย ก็อาจะไม่ได้ครองขุมทรัพย์แห่งบุญทุกประการในชาติต่อไป อาจได้เป็นเพียงบางข้อ หากทำบุญไว้มากก็ย่อมมีสมบัติแห่งบุญมากจนครบทั้ง 15 ประการดังกล่าวมานี้

วิธีทำบุญให้ได้กุศล : การจุดธูปเทียนไหว้พระให้ถูกวิธี

การจุดธูปเทียนไหว้พระให้ถูกวิธี

ส่วนใหญ่เรามักคิดแต่ว่าตั้งใจไปไหวพระ เพื่อให้เกิดความรู้สึกสบายใจ หรือเพื่ออธิฐานขอพรต่าง ๆ ที่ตนปรารถนา คนเราไม่ค่อยจะละเอียดในเรื่องขั้นตอนของการไหว้พระนัก เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที่ต่างก็ปฏิบัติกันมาจนคุ้นชินแล้วสำหรับการไหว้พระ

คนส่วนใหญ่จึงยัปฏิบัติบูชากันอย่างผิด ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการไหว้พระ เรียกว่าผิดกันตั่งแต่เรื่องการจุดธูปเทียนแล้วล่ะ

ที่จริงแล้วถึงจะทำผิดวิธีที่ถูกที่ควรบ้างก็ไม่เป็นไร ผู้ไม่รู้ไม่ผิดสำหรับการไหว้พระ เพราะถือเอาเรื่องของจิตรศัทธาเป็นสำคัญ แม้นต่อให้ไหว้พระด้วยมือเปล่า ไม่ได้มีธูปเทียน แต่หากพร้อมด้วยจิตรศัทธาอันบริสุทธิ์ ที่ปรารถนาจะกราบไหว้บูชาพระรัตนตรัยก็ถือว่าไม่เป็นไรเลย มีแต่จะได้บุญกุศล ได้ความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองด้วยซ้ำ

เพียงแต่ว่าถ้าเรารู้วิธีอันเป็นเคล็ดปฏิบัติอย่างแท้จริง ที่คนเฒ่าคนแก่แต่โบราณเขาถือกันมา และถ่ายทอดสอนสั่งกันมานั้น ถ้าเราทำได้ตามนั้นก็จะเป็นการกราบไหว้บูชาพระที่สมบูรณ์แบบ และย่อมได้อนิสงส์มงคลแก่ตนเองโดยแน่แท้

เคล็ดปฏิบัติเรื่องการจุดธูป - จุดเทียน มีดังนี้ 

การจุดธูป : 

ให้จุดธูป 3 ดอก เพื่อบูชาพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ถ้าใช้ธูปหอมได้ก็จะเป็นการดี
การจุดธูปนั้นให้จุดเหนือเปลวเทียนที่เราจุดปักไว้ หรือบางแห่งบางที่ถ้าเป็นพื้นที่ไม่สะดวก เราก็ไปจุดธูปโดยจุดกับเชิงเทียนที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้ก็ได้ ตรงนี้ต้องรักษามารยาทกันหน่อย ถ้าคนเยอะก็ใจเย็น ๆ 

เมื่อจุดธูปแล้วไม่ให้ใช้ลมปากเป่าเปลวไฟให้ดับ อย่าใช้อีกมือหนึ่งมาโบกดับไฟ อย่าใช้ปากเป่า ควรแก่งธูปโบกไปมาช้า ๆ เบา ๆ ให้เปลวไฟที่ปลายธูปดับแล้วจึงค่อยตั้งใจไหว้

ในกรณีที่ธูปไม่ติดบางดอก แต่เราไหว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าเพิ่งพบว่าธูปดอกหนึ่งดับไปหรือจุดไม่ติด ก่อนที่จะปักธูปให้ก็สามารถจุดธูปดอกนั้นให้ติดก่อนได้อย่าปักธูปทั้ง ๆ ที่มีธูปบางดอกไม่ติด เพราะโบราณเขาถือว่าพระที่เราอธิฐานไปนั้นจะไม่สัมฤทธิ์ผลดั่งประสงค์

การปักธูปควรปักธูให้แน่นหนากับกระถางทรายหรือที่สำหรับปักธูป บางคนนิยมปักธูปทั้ง 3 ดอกให้ตั้งตรง บางคนปักเอนเล็กน้อย จะปักธูปในลักษณะใดก็ได้แต่ขอให้ปักให้แน่นหนาและมั่นคง อย่าปักลวก ๆ ให้ธูปเอนและล้มได้ อันนี้ไม่เกี่ยวกับว่าจะได้บาปหรือบุญ แต่มันจะส่อแววว่าเราเองแค่ปักธูปยังชุ่ย ไม่หนักแน่นมั่นคง มันก็บอกถึงพลังของจิตใจเราเองที่ไม่หนักแน่นมั่นคง ฉะนั้นในการตั้งใจหรือกระทำสิ่งอื่น ๆ ใด ๆ ในชีวิตจะมีความจริงจังมั่นคงได้อย่างไร

ปักธูปแล้วกราบพระช้า ๆ งาม ๆ 3 ครั้งไม่ต้องรีบ

บางคนตอนอธิฐานจะใช้เวลานนานมากแต่พอขอพรเสร็จก็รีบปักธูปรีบกราบแบบรวก ๆ แล้วก็ไป ถ้าจะให้เหมาะให้งามก็ควรก้มลงกราบช้า ๆ กราบพระ 3 ครั้งให้สวย ๆ ถ้าก้มศรีษะลงแนบหลังมือได้ก็พึงกระทำ ถ้าร่างกายไม่เอื้อก็ไม่เป็นไร ขอเพียงตั้งใจกราบเหมือนดั่งที่ตั้งใจมาขอพรเป็นสำคัญ

การจุดเทียน :
เป็นสิ่งสงสัยไตร่ถามกันมากว่า การไหว้พระนั้นควรจุดเทียนกี่เลิ่มจึงจะถูกต้อง 
การจุดเทียนนั้นไม่มีข้อกำหนดแบบการจุดธูปซึ่งควรจุด 3 ดอก เพื่อบูชาพระรัตนตรัย แต่การจุดเทียนนั้นเวลาไปไหว้พระตามวัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยิจุด 1 เล่มเท่านั้น

บ้านที่มีหิ้งพระขนาดใหญ่ก็อาจจะมีเชิงเทียนวางมุมซ้ายมุมขวา แต่หิ้งพระขนาดเล็กก็คงวางเชิงเทียนได้แคอันเดียว การจุดเทียน 1 เล่ม หรือ 2 เล่ม จึงถือเอาตามความสะดวก ตามที่สมควร ไม่ถือเป็นถูกเป็นผิด

แต่ต่อมามีความเชื่อกันว่า การจุดเทียน 2 เล่ม หรือ 1 คู่ ในการบูชาพระนั้นถือว่าดี จะทำให้มีคู่ ไม่ต้องอยู่โดดเดี่ยวเหมือนเทียนเล่มเดียว

การจุดเทียนควรจุดจากไฟแช็ก หรือไม่ขีด ไม่ควรนำเทียนของเราไปจุดต่อจากเปลวเทียนผู้อื่น แต่เราสามารถนำเทียนของเราไปจุดให้เทียนของผู้อื่นได้

ในการไปไหว้พระที่วัด จะเห็นว่ามีเทียนของผู้อื่นปักไว้ก่อนแล้ว เทียนบางเล่มก็ดับอยู่แล้ว หากเราจะนำเทียนของเราไปจุดต่อให้เทียนเล่มที่ดับอยู่ ถือว่าเป็นเคล็ดอย่างหนึ่ง คือ เปรียบเสมือนการนำความโชติช่างไปเผื่อแผ่ผู้อื่น เป็นการสร้างบารมีแก่ตัวเรา ถ้าสถานะการไม่เอื้ออำนวยก็ไม่เป็นไร ทั้งนี้ขอให้ดูตามความเหมาะสมกับสถานที่เป็นสำคัญ

เมื่อปักเทียนแล้วจึงค่อยจุดธูป ลำดับแรกให้จุดเทียนและปักเทียนก่อน ขณะที่ไหว้พระถ้าหากเทียนดับก็ไม่เป็นไร หากสถานที่นั้นมีลมพัดแรงก็เป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องวิตกว่าจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโชคไม่ดี เทียนดับเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับการไหว้ในสถานที่มีลมพัดตลอดเวลา แต่ถ้าไหว้พระเสร็จเรียบร้อยแล้วเราอยากจุดเทียนอีกครั้งหนึ่งก่อนกลับก็ได้